เตรียมรับมือ ตลาดปั่นป่วนจากศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ
November 09, 2020
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมปิดรับความเสี่ยง จากการระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นติดตามผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดโดยตลาดการเงินอาจผันผวนสูงขึ้นได้ หากผลการเลือกตั้งผิดคาด เช่น ปธน.ทรัมป์ พลิกโผชนะหรือประท้วงการนับคะแนนความไม่แน่นอนในตลาดการเงินจะเป็นแรงหนุนเงินดอลลาร์ในระยะสั้นโดยเฉพาะเมื่อตลาดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) จากทั้งปัญหาการระบาดของ COVID-19 หรือตลาดผิดหวังกับผลการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะผู้ส่งออกก็เตรียมทยอยขาย หากเงินบาทอ่อนค่าใกล้ 31.40-31.50 บาทต่อดอลลาร์กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 30.90-31.40 บาท/ดอลลาร์มุมมองนโยบายการเงินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพฤหัสฯ เราคาดว่า FOMC จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Target) ไว้ที่ระดับ 0.00-0.25%ขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจเผชิญปัญหาจากการระบาดของ COVID-19 และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ (Fiscal Stimulus)จากรัฐบาลล่าช้าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10%แต่ BOE อาจส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น เพิ่มวงเงิน QE หรือ ดอกเบี้ยติดลบ หลังการฟื้นตัวเศรษฐกิจถูกกดดันจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคาร ตลาดคาดว่า RBA จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Cash Rate) ไว้ที่ระดับ 0.25%พร้อมทั้งคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 3ปี ไว้ที่ระดับ 0.25% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจมุมมองเศรษฐกิจทั่วโลกฝั่งสหรัฐฯ– ปัจจัยสำคัญคือการเลือกตั้ง โดยล่าสุดผลโพลยังสะท้อนว่า กรณี Blue Wave Victory ที่พรรคเดโมแครตครองสภาคองเกรสและโจ ไบเดนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี มีโอกาสเกิดขึ้นมากสุด ซึ่งกรณีนี้อาจช่วยให้ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นแต่ต้องระวังกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเกิดเป็นกรณี Contested Election ที่ทำให้ต้องมีการนับคะแนนใหม่ ซึ่งจะสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินอย่างน้อย 1 เดือนจนกว่าจะทราบผลที่ชัดเจนฝั่งเอเชีย– ภาพรวมเศรษฐกิจจีนดีขึ้นต่อเนื่อง หนุนโดยการขยายตัวของภาคการผลิตและการบริการซึ่งสะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Caixin Mfg. & Serv. PMIs) ที่ระดับ 52.8จุด และ 55จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50จุด หมายถึง การขยายตัว)ฝั่งไทย– ตลาดมองว่าการบริโภคในประเทศที่ค่อยๆฟื้นตัวจะช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ -0.50% ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ระดับ -0.70% ทั้งนี้ความวุ่นวายทางการเมืองอาจกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนตุลาคมปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.5จุด จาก 50.2จุดweekahead calendar