ติดตามผลกระทบ COVID-19 เวฟ 2 ต่อเศรษฐกิจโลก
November 16, 2020
สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าการระบาดของCOVID-19ยังคงทวีความรุนแรงในหลายพื้นที่ แต่ความหวังวีคซีนได้ช่วยหนุนให้ ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง(Risk-On)ติดตามผลกระทบของCOVID-19ระลอก2ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยตลาดอาจลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงได้ หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกเริ่มสะดุดลงจากผลกระทบของการระบาดระลอก 2 ในหลายพื้นที่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์COVID-19จะช่วยหนุนเงินดอลลาร์อยู่ซึ่งเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดปิดรับความเสี่ยง จากการระบาดของ COVID-19 ที่กดดันให้ข้อมูลเศรษฐกิจเริ่มทยอยออกมาแย่กว่าคาดกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า30.00-30.40บาท/ดอลลาร์มุมมองนโยบายการเงินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพุธ เราคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ย(Repo Rate)ไว้ที่ระดับ0.50%หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้เรามองว่า กนง. จะสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ และส่งสัญญาณให้รัฐบาลช่วยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง (Fiscal Stimulus) เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินโดนีเซีย(BI)ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่าBIจะลดอัตราดอกเบี้ย(7D Reverse Rep)ลง0.25%สู่ระดับ3.75%หลังแรงกดดันต่อค่าเงินรูเปี้ยะห์ (IDR) เริ่มลดลง ทำให้ BI สามารถลดดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจมุมมองเศรษฐกิจทั่วโลกฝั่งสหรัฐฯ &การฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเริ่มมีปัญหาหลังการระบาดของ COVID-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น สะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนตุลาคมที่โตเพียง 0.5%จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงจากที่โตได้ 1.9% ในเดือนกันยายน นอกจากนี้ ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติก โดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย (Philly Fed Business Outlook) เดือนพฤศจิกายนก็ชะลอลงสู่ระดับ 22จุด จาก 32.3จุด ในเดือนก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ลดลง และการจ้างงานที่ยังคงชะลอตัวฝั่งยุโรป &การระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรป โดย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน (Consumer Confidence) ในเดือนพฤศจิกายนจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ -17.9จุด จากระดับ -15.5จุด ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือนตุลาคมจะหดตัว 0.3%จากเดือนก่อนหน้าฝั่งเอเชีย &เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวราว 4% จากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออก ส่วนในฝั่งจีน เศรษฐกิจฟื้นตัวโดดเด่นต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) โต 6.7% เช่นเดียวกับ ยอดค้าปลีก และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ที่จะโตถึง 5.0% และ 1.6% ตามลำดับฝั่งไทย &เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าราว 3% แต่ยังคงหดตัวกว่า 9% จากปีก่อนหน้าผลกระทบโควิด-19 เวฟ 2 ต่อเศรษฐกิจโลก